บทความ OAE

ความผันแปรของลมมรสุมฤดูร้อนในทวีปเอเชียสมัยโฮโลซีน การศึกษาเพื่อสังเคราะห์ข้อมูลที่บันทึกในหินงอกและวงปีไม้จากประเทศไทยและจีน

หมวดหมู่ : 

ความผันแปรของลมมรสุมฤดูร้อนในทวีปเอเชียสมัยโฮโลซีน การศึกษาเพื่อสังเคราะห์ข้อมูลที่บันทึกในหินงอกและวงปีไม้จากประเทศไทยและจีน

โครงการวิจัย:

ความผันแปรของลมมรสุมฤดูร้อนในทวีปเอเชียสมัยโฮโลซีน การศึกษาเพื่อสังเคราะห์ข้อมูลที่บันทึกในหินงอกและวงปีไม้จากประเทศไทยและจีน

ผลงานวิจัย:

A Preliminary Study on Teak Tree Ring Cellulose δ18O from Northwestern Thailand: The Potential for Developing Multiproxy Records of Thailand Summer Monsoon Variability

ผู้วิจัย:

Chotika Muangsong, Binggui Cai, Nathsuda Pumijumnong, Guoliang Lei, and Fang Wang

ประเทศไทยตั้งอยู่บริเวณรอยต่อ ระหว่างมรสุมด้านมหาสมุทรอินเดีย และมรสุมด้านมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งส่งผลให้ข้อมูลสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยนั้น มีความสำคัญอย่างมากต่อการทำความเข้าถึงระบบธรรมชาติโดยภาพรวมของลมมรสุมทวีปเอเชีย วงปีไม้ และหินงอกจากประเทศไทยนั้น ได้รับการยอมรับว่าเป็นหลักฐานทางธรรมชาติที่มีศักยภาพ ในการใช้สำหรับศึกษาภูมิอากาศในอดีตแบบมีความละเอียดสูงได้ งานวิจัยนี้ เป็นการวิเคราะห์ค่าไอโซโทปเสถียรของออกซิเจน (δ18O) ในวงปีไม้สักอายุ 76 ปี เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ของ δ18O และตัวแปรด้านภูมิอากาศ นอกจากนี้ ยังเปรียบเทียบค่า δ18O ของวงปีไม้สัก และหินงอกจากพื้นที่เดียวกัน ซึ่งการศึกษาพบว่า หลักฐานทางธรรมชาติจากพื้นที่นี้ สามารถเทียบเคียงกันได้เป็นอย่างดี และสามารถใช้ประกอบรวมกันเพื่อสร้างเส้นภูมิอากาศในอดีตได้ รวมถึงแสดงถึงความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในพื้นที่ห่างไกล เช่น ปรากฏการณ์เอนโซ่ได้